เมื่อเข้าใกล้ระยะคลอด นั่นคือ 37 สัปดาห์ เป็นต้นไป คุณแม่จะรู้สึกว่าท้องลดต่ำลง เนื่องจากศรีษะเด็กจะเคลื่อนต่ำลงสู่ช่องเชิงกราน คุณแม่จะรู้สึกว่าหายใจคล่องขึ้น รับประทานอาหารไม่ค่อยแน่นท้อง แต่ขณะเดียวกันจะรู้สึกปวดถ่วงในอุ้งเชิงกราน ท้องเกร็งแข็งบ่อยขึ้น ๆ ปัสสาวะบ่อย เท้าจะบวม ลุกนั้งจะรู้สึกลำบาก เป็นตะคริวที่ขาบ่อยขึ้น เนื่องจากศีรษะเด็กและมดลูกกดทับเส้นเลือดดำ และเส้นประสาทในอุ้งเชิงกรานมาก
ระยะนี้คุณแม่บางท่านจะมีความกังวลใจมาก นอนไม่หลับ กังวลเรื่องการคลอดบุตร ซึ่งก็ควรจะทำจิใจให้ร่าเริงแจ่มใส ไม่ซึมเศร้า เพราะส่วนใหญ่แล้วการตั้งครรภ์ และการคลอดบุตรจะเป็นไปตามขบวนการตามธรรมชาติ การคลอดส่วนใหญ่จะเป็นไปโดยปกติ คุณแม่ที่ฝากครรภ์อย่างดี กินยาและปฏิบัติตัวตามที่แพทย์แนะนำ มีการเตรียมพร้อมอย่างดี ส่วนใหญ่แล้วจะผ่านการคลอดได้อย่างเป็นปกติดี
ในระยะใกล้คลอดนี้ คุณแม่ที่ต้องทำงานหนัก ต้องเดินทางไกล ควรจะหยุดพักผ่อนเพื่อรอคลอด ควรเดินออกกำลังกาย เช้า+เย็น นอนหลับพักผ่อนช่วงกลางวันบ้าง ควรงดแพศสัมพันธ์ คอยสังเกตอาคารตนเอง และการดิ้นของเด็กในครรภ์ ซึ่งครวจะดิ้นไม่น้อยกว่า 12 ครั้ง / วัน เด็กอาจจะหลับเป็นพัก ๆ ส่วนใหญ่แล้วจะดิ้นในเวลากลางคืน
อาการที่จะต้องไปโรงพยาบาล
- เจ็บครรภ์
- มีมูกเลือดออกทางช่องคลอด
- มีเลือดสด ๆ ออกจากช่องคลอด ต้องรีบไปโรงพยาบาลโดยด่วน
- ปวดท้องอย่างรุนแรง
- มีน้ำใส ๆ ออกจากช่องคลอด ที่ไม่ใช่น้ำปัสสาวะ อาจจะออกมามากครั้งเดียว หรือออกน้อย ๆ เป็นระยะ ๆ
- รู้สึกเด็กไม่ดิ้น
- อาการผิดปกติอื่น ๆ ที่คุณแม่ไม่แน่ใจควรจะโทรปรึกษาแพทย์หรือพยาบาลในห้องคลอดได้ตลอดเวลา
การเจ็บครรภ์คลอดจะต้องแยกระหว่างเจ็บเตือนกับเจ็บจริง เจ็บครรภ์เดือน จะเริ่มตั้งแต่ช่วงหลังเดือนที่ 6 เกิดจากการหดรัดตัวของมดลูก เพื่อหัดตัวเอง โดยจะหดรัดตัวห่าง ๆ คุณแม่อาจจะรู้สึกเจ็บจี๊ด ๆ หรือไม่รู้สึกเจ็บขณะทีมีการแข็งตัวของมดลูก เจ็บเตือนจะถี่ขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเข้าใกล้อายุครรภ์ครบกำหนดคลอด การเจ็บหลอกนี้จะไม่สม่ำเสมอเจ็บมากบ้างน้อยบ้าง เมื่อนอนพัก สังเกตอาการแล้วอาการเจ็บหายไป จะไม่มีมูกเลือดหรือน้ำเดินร่วมด้วย
เจ็บครรภ์จริง มักจะร่วมกับมีมูกเลือดออกจากช่องคลอด จะเจ็บท้องร่วมกับท้องแข็งตึง เจ็บสม่ำเสมอเริ่มจากทุกครึ่งชั่วโมง ต่อมาทุก 10-15 นาที จะเจ็บถี่ขึ้นเรื่อย ๆ ถ้าสังเกตว่ามีอาการเจ็บท้องจริงควรจะรีบไปโรงพยาบาล