Prenatal diagnostic

การวินิจฉัยก่อนคลอด หมายถึงการตรวจค้นหาความผิดปกติของโครงสร้างการทำงานของอวัยวะทารก หรือตัวอ่อนในครรภ์ของมารดา เพื่อรักษา ติดตามและกำหนดการคลอดที่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยบรรเทาความรุนแรงของความผิดปกติได้ การตรวจด้วยวิธีดังกล่าวนี้ถือเป็นวิธีการมาตรฐานในการตรวจวินิจฉัยโรคที่มีความผิดปกติจากพันธุกรรม เพื่อยืนยันผลการตรวจคัดกรองด้วยวิธีการอื่นใดที่ได้ใช้มาก่อนหน้านี้ อาทิเช่น NIPT หรือ Serum marker แล้วพบว่ามีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคทางพันธุกรรมสูง

การตรวจสารทางพันธุกรรมเพื่อการวินิจฉัยทางพันธุศาสตร์หรือทางชีวเคมีที่นิยมใช้ได้แก่
1. การตรวจ Cytogenetic analysis หรือ karyotyping (Classical cytogenetics/chromosome banding technique)
2. การตรวจ Quantitative fluorescence polymerase chain reaction (QF-PCR)
3. การตรวจ Chromosomal microarray analysis (CMA)
4. การตรวจ Whole genome sequencing หรือ Whole exome sequencing โดยทั้งสองวิธีการตรวจนี้จะถูกเลือกทำในกรณีเท่านั้น และไม่ได้ถูกแนะนำให้ใช้เป็นวิธีการตรวจเป็นประจำ

ใครบ้างที่ควรได้รับการตรวจ ?

• คุณแม่ตั้งครรภ์ทุกคนที่ได้รับผลการตรวจคัดกรองโรคพันธุกรรมแล้วพบว่า “ เสี่ยงสูง ”

จุดเด่นของการตรวจ Prenatal diagnostic

ตรวจอะไรได้บ้าง ?

Karyotype
• สามารตรวจความผิดปกติในเชิงรูปร่างของโครโมโซมทั้งขนาดความยาว จำนวนโครโมโซม ครบทุกคู่ในร่างกายและโครโมโซมเพศทั้ง 23 คู่ ยกเว้นโรคในกลุ่มอาการ Microdeletion
QF-PCR
• สามารถตรวจความผิดปกติในเชิงของจำนวนโครโมโซมที่สำคัญ 5 คู่เท่านั้น คือ 21 18 13 X และ Y
CMA
• สามารตรวจความผิดปกติในเชิงรูปร่างของโครโมโซม (ยกเว้น Balaned translocations และ Inversions) จำนวนโครโมโซม ครบทุกคู่ในร่างกายและโครโมโซมเพศทั้ง 23 คู่
• สามารถตรวจโรคในกลุ่มอาการ Microdeletion และ Triploidy ได้