Fetal fraction คืออะไร

Fetal fraction คือ สัดส่วนปริมาณ cfDNA (สารพันธุกรรมที่มาจากทารกในครรภ์) ที่หลุดออกมาจากรกที่สามารถพบได้ในเลือดแม่ หรือสัดส่วนดีเอ็นเอของลูกที่อยู่ในเลือดแม่นั่นก็คือ Fetal fraction  ซึ่งผลตรวจจะได้รับการยอมรับว่าผ่านมาตรฐาน เมื่อค่า Fetal fraction มากกว่า 4%

ปัจจัยหลักที่มีผลต่อปริมาณ fetal fraction คือ

  1. อายุครรภ์ ยิ่งอายุครรภ์มาก ปริมาณ fetal fraction จะสูงขึ้นตามลำดับเนื่องจาก DNA ของลูกที่ถูกนำมาวิเคราะห์นั้นเป็น DNA ที่มาจากรก เมื่ออายุครรภ์มากขึ้นขนาดรกก็ใหญ่ขึ้นจึงทำให้ DNA เยอะขึ้น อย่างไรก็ตามมีสถิติออกมาว่าปริมาณ fetal fraction นั้นจะขึ้นอย่างช้าๆ ประมาณ 0.1% ต่อสัปดาห์เท่านั้นในช่วงอายุครรภ์ที่ 10-20 สัปดาห์ แต่หลังจากสัปดาห์ที่ 21 เป็นต้นไป fetal fraction จะขึ้นประมาณ 1% ต่อสัปดาห์
  2. น้ำหนักตัวของคุณแม่ ยิ่งคุณแม่น้ำหนักมาก fetal fraction ก็จะยิ่งน้อย แต่เรื่องนี้คนไทยเราค่อนข้างโชคดี เพราะว่าผู้หญิงไทยน้ำหนักจะไม่เยอะเท่ากับผู้หญิงต่างชาติ
  3. ความแตกต่างกันของแต่ละบุคคลเอง คุณแม่สองคนน้ำหนักไล่เลี่ยกันอายุครรภ์พอๆ กันมาเจาะเลือดเพื่อวัดปริมาณ fetal fraction ผลออกมาไม่จำเป็นว่าสองคนได้ใกล้เคียงกัน ตอนนี้ยังไม่มีการวิจัยไหนที่ออกมายืนยันถึงกระบวนการเพิ่ม fetal fraction เช่น งดน้ำงดอาหารก่อนเจาะเลือด หรือดื่มน้ำส้มก่อนเจาะเลือด ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน

การตรวจ Panorama NIPT เป็นเพียงเทคนิคเดียวในโลกที่ใช้เทคนิค Single Nucleotide Polymorphism (SNP) ในการแยกดีเอ็นเอของลูกออกจากดีเอ็นเอของแม่ เพื่อทำการวิเคราะห์หาความผิดปกติของลูก และให้ผลการตรวจที่มีความแม่นยำคงที่มากกว่า 99%  ถึงแม้ว่าปริมาณดีเอ็นเอของลูกที่ปนอยู่ในเลือดแม่ (Fetal fraction) จะต่ำถึง 4% ก็ตาม