icon-05-01

การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (Cervical Cancer Screening)

มะเร็งปากมดลูกส่วนใหญ่จะพบในผู้หญิงวัย 30-55 ปี มากกว่า 90% เกิดจากการติดเชื้อไวรัส HPV หรือ Human Papilloma virus ที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งปัจจุบันมีมากกว่า 100 สายพันธุ์ แต่ที่เป็นสาเหตุหลัก คือสายพันธุ์ 16 และ18 การติดเชื้อ HPV ต่อเนื่องเป็นเวลานาน จะส่งผลให้เซลล์บริเวณปากมดลูกพัฒนากลายเป็นเซลล์มะเร็งได้

ปัจุบันประเทศไทยสามารถตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกได้ 3 วิธีได้แก่

  1. การตรวจทางเซลล์วิทยา หรือ PAP test เป็นการตรวจหาความผิดปกติของเซลล์บริเวณปากมดลูก
  2. การตรวจหาเชื้อ HPV ซึ่งสามารถทำได้ทั้งกรณีการตรวจหาเชื้อ HPV เพียงอย่างเดียว (Primary HPV testing) หรือการตรวจเชื้อ HPV ร่วมกับการตรวจทางเซลล์วิทยาปากมดลูก (Co-testing)
  3. การตรวจด้วยน้ำส้มสายชู (Visual inspection with acetic acid, VIA) ปัจจุบันไม่ค่อยเป็นที่นิยม เนื่องจากมีความแม่นยำต่ำ และต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ

ใครบ้างที่ควรการตรวจหาเชื้อ HPV

  • ผู้หญิงทุกคนที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป ควรเข้ารับการตรวจคัดกรอง HPV DNA testing หรือ Co-testing ทุกๆ 5 ปี หรือ Cervical cytology ทุกๆ 3 ปี
  • สงสัยว่ามีความผิดปกติ เช่น มีเลือดออกจากช่องคลอดอย่างไม่ทราบสาเหตุ, มีตกขาวอย่างเห็นได้ชัด และอาจมีเลือดปน เป็นต้น
  • ผู้ที่อายุมากกว่า 65 ปี ที่ได้รับการตรวจคัดกรองอย่างสม่ำเสมอในช่วง10 ปีที่ผ่านมา โดยมีผลการตรวจปกติ และไม่มีปัจจัยเสี่ยงควรหยุดการตรวจ
  • ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดมดลูกออกทั้งหมด ควรหยุดการตรวจ เว้นแต่การผ่าตัดมดลูก จะเป็นการรักษามะเร็งปากมดลูก หรือมะเร็งระยะก่อนระยะร้ายแรง
  • ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดมดลูก โดยไม่ได้ตัดปากมดลูกออก และผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกัน HPV ควรตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกตามแนวทางปกติ
  • สิ่งสำคัญที่สุด คือ การเข้ารับการตรวจอย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าคุณจะได้เข้ารับการทดสอบ ด้วยวิธีใดก็ตาม

ตามคำแนะนำของสมาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกา (American Cancer Society : ACS, 2020) ฉบับปรับปรุงล่าสุด

ใครบ้างที่ควรการตรวจหาเชื้อ HPV

  • ผู้หญิงทุกคนที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป ควรเข้ารับการตรวจคัดกรอง HPV DNA testing หรือ Co-testing ทุกๆ 5 ปี หรือ Cervical cytology ทุกๆ 3 ปี
  • สงสัยว่ามีความผิดปกติ เช่น มีเลือดออกจากช่องคลอดอย่างไม่ทราบสาเหตุ, มีตกขาวอย่างเห็นได้ชัด และอาจมีเลือดปน เป็นต้น
  • ผู้ที่อายุมากกว่า 65 ปี ที่ได้รับการตรวจคัดกรองอย่างสม่ำเสมอในช่วง10 ปีที่ผ่านมา โดยมีผลการตรวจปกติ และไม่มีปัจจัยเสี่ยงควรหยุดการตรวจ
  • ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดมดลูกออกทั้งหมด ควรหยุดการตรวจ เว้นแต่การผ่าตัดมดลูก จะเป็นการรักษามะเร็งปากมดลูก หรือมะเร็งระยะก่อนระยะร้ายแรง
  • ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดมดลูก โดยไม่ได้ตัดปากมดลูกออก และผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกัน HPV ควรตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกตามแนวทางปกติ
  • สิ่งสำคัญที่สุด คือ การเข้ารับการตรวจอย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าคุณจะได้เข้ารับการทดสอบ ด้วยวิธีใดก็ตาม

ตามคำแนะนำของสมาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกา (American Cancer Society : ACS, 2020) ฉบับปรับปรุงล่าสุด

การตรวจหาเชื้อไวรัส HPV จากปัสสาวะ

เทคนิคใหม่ในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยการตรวจหาเชื้อ HPV จากปัสสาวะ ทางเลือกสำหรับสตรีที่กลัว และเขินอายการตรวจภายใน

Coli-Pee® คือ ชุดเก็บปัสสาวะเพื่อใช้่ในการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ ที่ได้รับการยอมรับและได้มาตรฐาน (ISO13485)
Coli-Pee® ช่วยเพิ่มความแม่นยำในการตรวจ เมื่อเปรียบเทียบกับการเก็บปัสสาวะด้วยถ้วยเก็บปัสสาวะทั่วไป
Coli-Pee® ออกแบบให้ใช้ควบคู่กับ Urine Conservation Medium (UCM) เพื่อช่วยคงสภาพ Protein และ DNA ในปัสสาวะได้ เป็นเวลาอย่างน้อย 7 วัน ที่อุณหภูมิห้อง

icon 01-01

ใช้ง่าย
สะดวก

icon 01-02

เก็บตัวอย่างได้เองที่บ้าน

icon 01-03

ผ่านการรับรอง
ความปลอดภัย

icon 01-04

เป็นมิตรกับผู้ใช้

icon 01-05

ใช้ได้ทั้งเพศหญิง
และชาย

แพ็คเกจการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

*HPV สายพันธุ์เสี่ยงสูง 14 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์ 16, 18, 31, 35, 39, 45, 51, 52, 56, 58, 59, 66 and 68
**HPV สายพันธุ์เสี่ยงสูง 18 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์ 16, 18, 31, 33, 35, 39, 45, 51, 52, 56, 58, 59, 68, 73, 82,26, 53 and 66

ติดต่อเรา

สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือ จองคิว

icon-01
icon-02
icon-08-01