October 25, 2024
ภาวะครรภ์เสี่ยงเป็นสิ่งที่คุณแม่ต้องใส่ใจ เพราะหากไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม อาจเกิดอันตรายถึงชีวิต! วันนี้คุณหมอกมลภัทร ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ จะพาคุณแม่ตั้งครรภ์ทุกคนมาทำความเข้าใจภาวะครรภ์เสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยด้านอายุและน้ำหนัก ซึ่งมีผลต่อทั้งคุณแม่และลูกน้อย การรู้เท่าทันภาวะนี้จะช่วยให้คุณแม่รับมือกับอาการได้ดีขึ้น และเข้าพบแพทย์ได้ทันทีเมื่อมีความเสี่ยง
ถาม: คนท้องที่มีอายุต่ำกว่า 17 ปี มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะครรภ์เสี่ยง จริงหรือไม่
ตอบ: จริง การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นอาจส่งผลให้ทารกน้ำหนักน้อยกว่าปกติ อีกทั้งคุณแม่วัยรุ่นยังรับมือกับความเครียดและการเปลี่ยนแปลงระหว่างตั้งครรภ์ได้ยากกว่า ส่งผลให้มีโอกาสเกิดภาวะเครียดระหว่างตั้งครรภ์สูงขึ้น
ถาม: คนท้องที่มีอายุมากกว่า 35 ปี มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะครรภ์เสี่ยง จริงหรือไม่
ตอบ: จริง คุณแม่ตั้งครรภ์ที่อายุมากกว่า 35 ปี มีความเสี่ยงที่จะเกิดโครโมโซมผิดปกติของทารกในครรภ์ รวมถึงมีความเสี่ยงสูงขึ้นในการเป็นเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์
ถาม: น้ำหนัก มีผลต่อภาวะเสี่ยงในหญิงตั้งครรภ์ ใช่หรือไม่
ตอบ: จริง น้ำหนักที่มากหรือน้อยเกินไป สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อสุขภาพทั้งของคุณแม่และทารกในครรภ์ได้
ถาม: คนท้องที่มี น้ำหนักน้อยกว่าปกติ เสี่ยงต่อภาวะแท้งลูก จริงหรือไม่
ตอบ: จริง คุณแม่ที่มีน้ำหนักน้อยเกินไปหรืออยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่ามาตรฐาน (BMI ต่ำกว่า 18.5) อาจมีความเสี่ยงต่อภาวะแท้ง การคลอดก่อนกำหนด หรือทารกมีน้ำหนักตัวน้อยกว่าเกณฑ์ที่ควรจะเป็น ซึ่งเป็นผลจากการขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ นอกจากนี้ คุณแม่ที่น้ำหนักน้อยยังอาจมีปัญหาด้านสุขภาพอื่น ๆ เช่น ภาวะโลหิตจาง หรือระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ซึ่งส่งผลต่อการตั้งครรภ์
ถาม: คนท้องที่มี น้ำหนักเกินหรืออ้วน เสี่ยงต่อโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ จริงหรือไม่
ตอบ: จริง น้ำหนักเกิน (BMI 25 ขึ้นไป) หรืออ้วน (BMI 30 ขึ้นไป) คุณแม่ที่มีน้ำหนักเกินหรือภาวะอ้วน มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ซึ่งอาจทำให้ทารกมีน้ำหนักตัวมากผิดปกติ ส่งผลให้เกิดปัญหาในระหว่างคลอด เช่น การคลอดยาก หรือทารกบาดเจ็บขณะคลอด ทั้งต่อตัวทารกแล้วก็ต่อตัวคุณแม่ได้ โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ยังส่งผลต่อสุขภาพระยะยาวทั้งของคุณแม่และทารก เช่น การพัฒนาเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในอนาคต
ถาม: การตั้งครรภ์แฝดมีความเสี่ยงต่อครรภ์เป็นพิษมากกว่าคุณแม่ตั้งครรภ์เดี่ยว จริงหรือไม่
ตอบ: จริง การตั้งครรภ์แฝดเป็นการตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูง เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกายมากกว่าการตั้งครรภ์เดี่ยว และรกร่วมมีขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อเลี้ยงดูทารกหลายคน ความเสี่ยงที่พบได้บ่อยคือ ภาวะครรภ์เป็นพิษ (preeclampsia) ซึ่งเป็นภาวะที่เกิดจากความดันโลหิตสูงและโปรตีนในปัสสาวะสูง ส่งผลต่อสุขภาพของคุณแม่และทารก อาจทำให้เกิดปัญหาการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์หรือการคลอดก่อนกำหนดได้
คุณแม่ที่ตั้งครรภ์แฝดควรได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด และเฝ้าระวังความเสี่ยงเหล่านี้อย่างสม่ำเสมอ ภาวะครรภ์เสี่ยงเป็นสัญญาณเตือนให้คุณพ่อคุณแม่ใส่ใจและเตรียมพร้อมรับมือ เพื่อความปลอดภัยและสุขภาพที่แข็งแรงของคุณแม่และลูกน้อย นอกจากนี้ การตรวจคัดกรองพันธุกรรมทารกในครรภ์ เช่น การตรวจ NIPT ยังมีความสำคัญในการลดความเสี่ยงจากความผิดปกติของโครโมโซม และช่วยวางแผนการตั้งครรภ์ได้อย่างเหมาะสม
ข้อมูลเพิ่มเติม: https://www.bccgroup-thailand.com/panorama
65/17-18 ซอยวิภาวดีรังสิต 16/6 ถ.วิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กทม. 10900
โทรศัพท์ : 02-690-0063, 086-306-2084 090-907-4230
แฟกซ์ : 02-690-0064
อีเมล : info@bccgroup-thailand.com