ORA™ คือ วิธีการตรวจที่ทันสมัย ซึ่งออกแบบมาเพื่อประเมินความพร้อมของเยื่อบุโพรงมดลูก (เยื่อบุภายในมดลูก) ก่อนการฝังตัวอ่อน โดยไม่จำเป็นต้องเก็บชิ้นเนื้อจากเยื่อบุโพรงมดลูก หากแต่ใช้วิธีการเก็บตัวอย่างเลือด เพื่อนำไปวิเคราะห์หาตัวบ่งชี้ทางชีวภาพเฉพาะ (Biomarker) ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเยื่อบุโพรงมดลูกในระหว่างการฝังตัวอ่อนการทดสอบนี้จะช่วยให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการเจริญพันธุ์ สามารถประเมินช่วงเวลาที่เหมาะสมและแม่นยำมากยิ่งขึ้นเพื่อถ่ายโอนตัวอ่อน (Window of implantation, WOI) ส่งผลประโยชน์ให้เกิดโอกาสการฝังตัวอ่อนที่สูงขึ้นและความสำเร็จในการตั้งครรภ์ของผู้มีบุตรยากมากยิ่งขึ้น
ความสามารถในการฝังตัวอ่อนของเยื่อบุโพรงมดลูก (Endometrial receptivity) และช่วงเวลาการฝังตัวของตัวอ่อน (Window of implantation, WOI) คืออะไร
ความสามารถในการฝังตัวอ่อนของเยื่อบุโพรงมดลูก หมายถึงสถานะของเยื่อบุโพรงมดลูกที่จะสามารถฝังตัวอ่อนได้ ส่วนช่วงเวลาการฝังตัวของตัวอ่อน หมายถึง ช่วงเวลาที่เยื่อเมือกที่บุโพรงมดลูกหรือเยื่อบุโพรงมดลูกมีความหนาและความสม่ำเสมอ ที่เหมาะสมสำหรับการฝังตัวของตัวอ่อนซึ่งโดยปกติจะเกิดขึ้นในช่วงวันที่ 19-21 ของรอบการมีประจำเดือน แต่ก็อาจแตกต่างกันไปในแต่ละคน
จากการศึกษาพบว่าผู้ป่วยประมาณ 30% มีช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการย้ายตัวอ่อนเร็วหรือช้ากว่าค่าเฉลี่ย ส่งผลให้การฝังตัวของตัวอ่อน และเยื่อบุโพรงมดลูกไม่ประสานกันจนทำให้การฝังตัวของตัวอ่อนล้มเหลว
หากผู้ป่วยมีภาวะต่อไปนี้ ORA™ อาจช่วยเพิ่มอัตราความสำเร็จในการฝังตัวอ่อนได้:
• ประวัติการฝังตัวล้มเหลวหรือการแท้งบุตร
• มีตัวอ่อนคุณภาพสูงเหลืออยู่เพียงไม่กี่ตัว
• เยื่อบุโพรงมดลูกบางหรือมีภาวะที่ซับซ้อนของมดลูก
• ดัชนีมวลกาย (BMI) ต่ำกว่าหรือสูงกว่าค่าดัชนีมวลกายที่เหมาะสม (เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดคือ 18.6-24 อย่างไรก็ตามค่าระหว่าง 16-40 ถือว่ายอมรับได้)
• อายุ 35 ปีขึ้นไป*
*แม้ว่าทุกช่วงวัยอาจมีช่วงเวลาการฝังตัวของตัวอ่อนในมดลูกเกินหรือน้อยกว่าค่าเฉลี่ย แต่ข้อมูลล่าสุดแสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นเช่นนี้สูงขึ้น
1. แพทย์จะนัดหมายวันที่จะให้ฮอร์โมน เพื่อจำลองวงจรสำหรับการฝังตัวอ่อน
2. แพทย์จะเก็บตัวอย่างเลือดในวันที่ 4* และวันที่ 5 หลังการให้ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) หรือวันที่ 6* และวันที่ 7 หลังการมีประจำเดือนตามธรรมชาติ หรือหลังจากการกระตุ้นฮอร์โมนLuteinizing hormone (LH) หรือการฉีดฮอร์โมน human-chorionic gonadotropin (hCG)
3. ตัวอย่างเลือดจะถูกส่งไปยังห้องปฏิบัติการ ORA™ เพื่อวิเคราะห์ผล
4. แจ้งผลการวิเคราะห์ให้ทราบ ถึงเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการถ่ายโอนตัวอ่อน
*การเจาะเลือดเพิ่มเติมในวันที่ 4 ของการให้ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) หรือวันที่ 6 ของรอบการมีประจำเดือนตามธรรมชาติ ขึ้นอยู่กับวิธีการปฏิบัติของแพทย์ ในกรณีที่เจาะเลือดเพียงครั้งเดียวในวันที่ 5 หรือ 7 มีโอกาสบ้างที่จำเป็นต้องเจาะเลือดซ้ำ
65/17-18 ซอยวิภาวดีรังสิต 16/6 ถ.วิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กทม. 10900
โทรศัพท์ : 02-690-0063, 086-306-2084 090-907-4230
แฟกซ์ : 02-690-0064
อีเมล : info@bccgroup-thailand.com